วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


ความสำคัญของการวัดและประเมินตามแนวปฏิรูปการศึกษา

          การวัดและการประเมิน (Assessment) คือ กระบวนการจัดเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสิน (Determine) ระดับของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ผลความ สำเร็จที่พึงปรารถนาหรือผลความสำเร็จตามมาตรฐานคุณภาพผลการเรียนรู้
          การวัดและการประเมินคุณประโยชน์
    1. ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนเข้าใจตรงกันในผลการเรียนรู้ที่เป็นมาตรฐานที่ต้องการให้
    2. บังเกิดขึ้นจากการเรียนการสอนและจัดทำเป็นเกณฑ์สำหรับการตรวจสอบ
    3. ช่วยเพิ่มการเร่งเร้าเพียรพยายามร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียนที่จะใช้กระบวนการ
    4. เรียนรู้ที่หลากหลาย ใช้อุปกรณ์สื่อนวัตกรรมต่างๆ เพื่อมุ่งไปสู่การบรรลุผลการเรียนตามเกณฑ์ข้อ 1
    5. ช่วยให้มีการบันทึกพฤติกรรมของผู้เรียน ติดตามผลการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนถึงการ
    6. ใช้เครื่องมือและเทคนิคการวัดและการประเมินที่ผ่านการเลือกสรร และออกแบบอย่างดีให้สามารถวัดผลการเรียนรู้อย่างแม่นยำ เชื่อถือได้
    7. ช่วยให้เกิดการตัดสินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่องเทียบกับ
    8. เกณฑ์ที่จัดทำไว้ล่วงหน้า ทำให้เกิดการบันทึกผลการเรียนรู้เป็นรายบุคคล ระบุผลการเรียนรู้ที่ผู้เรียนทำได้น่าพอใจผ่านเกณฑ์ ระบุผลการเรียนรู้ที่ยังบกพร่อง
    9. ช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนรายบุคคลเป็นสำคัญ  โดยนำผลการเรียนรู้ที่บกพร่องมาวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุ  ทำให้ผู้สอนช่วยคิดค้นเทคนิคกระบวนการเรียนรู้นำมาใช้แก้ไขข้อบกพร่องทางการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเหมาะสม  ช่วยทำให้ผู้เรียนรายบุคคลสามารถเรียนรู้ได้ครบถ้วนตามมาตรฐาน
ความหมายและความสำคัญของการวัดและประเมินตามสภาพจริง
          การวัดและประเมินตามสภาพจริง คือ กระบวนการวัดผลการเรียนรู้ตามแนวทาง 3 ประการ คือ
1.  วัดครบถ้วนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ได้จริง
วัดความสามารถทางความรู้ ความคิดได้จริง (Cognitive Ability) วัดความสามารถในการปฏิบัติได้จริง (Performance/Practice Ability)
วัดคุณลักษณะทางจิตใจได้จริง (Affective Characteristics)
             2.  วัดได้ตรงความเป็นจริง คือ สิ่งที่วัดได้นั้นเป็นข้อมูล เป็นการแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน  ทั้งความสามารถทางความรู้  ความคิด  ความสามารถในการปฏิบัติและคุณลักษณะทางจิตใจ  มีความคลาดเคลื่อนผิดพลาดน้อยที่สุด  ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ด้อยความสามารถได้คะแนนสูง  ตัดความผิดพลาดที่ผู้มีความสามารถสูงกลับได้คะแนนน้อย
             3.  เลือกสรร  คิดค้นเครื่องมือและเทคนิคการวัดผลที่เป็นการวัดพฤติกรรมที่แท้จริงที่แสดงออกซึ่งความสามารถของผู้เรียน  (Ability to do)  ซึ่งอาจได้จากการสังเกตุพฤติกรรมผู้เรียน  สังเกตจากการปฏิบัติภาระงาน (Tasks) ที่จัดให้ปฏิบัติในสถานการณ์ที่ผู้สอนจะกำหนด สังเกตจากร่องรอยหลักฐานผลการปฏิบัติภาระงานของผู้เรียน เป็นต้น
ตัวอย่างการวัดผลตามสภาพจริง
    1. สิ่งที่จะวัด : ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ติดตา ต่อกิ่ง ตอน ฯลฯ
    2. แนวการวัด
      ระดับการวัดที่พอใช้ได้ : ให้ผู้เรียนเขียนหรือพูดยกตัวอย่างพืชในสถานการณ์จริง อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติได้ถูกต้องครบถ้วน
      ระดับที่ดี : ผู้เรียนสามารถปฏิบัติจริงในการนำพืชที่มีอยู่มาแสดงวิธีการขยายพันธุ์พืช เป็นขั้นตอนได้ครบถ้วน ถูกต้องและมีผลความสำเร็จในผลงานขั้นสุดท้ายที่ขยายพืชได้สำเร็จ
    3. สิ่งที่จะวัด : ความสามารถในการประยุกต์วิธีการคำนวณ พื้นที่ ปริมาตร
    4. แนวทางวัด : ระบุสถานการณ์จริง เช่น ห้องเรียนให้คำนวณพื้นที่ที่จะทาสีที่มีราคา
      ต่างกันตามประเภทของสี ที่ขายเป็นแกลลอน สรุปเป็นจำนวนแกลลอนและราคาค่าใช้จ่าย ที่จะทาสีผนังและเพดาน
    5. สิ่งที่จะวัด : ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์
    6. แนวการวัด : กำหนดสถานการณ์จริง เช่น ให้เขียนบทความรณรงค์แก้ปัญหาของหมู่
      บ้าน การเขียนจดหมายขอให้นักธุรกิจสนับสนุนกิจกรรมกีฬาของ
      โรงเรียน การแสดงสำนวนโวหารในการโต้วาที ฯลฯ
    7. สิ่งที่จะวัด : ความสามารถในทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
    8. แนวการวัด : จัดสถานการณ์ให้ดำเนินการทดลองในห้องปฏิบัติการ เน้นให้ใช้อุปกรณ์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ สังเกตและบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการทดลอง
                             หรือให้ทำโครงการวิทยาศาสตร์ครบวงจร ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ การจัดสิ่งที่จะต้องใช้ในการปฏิบัติ การตังสมมุติฐานการออกแบบตัวแปร การวัดตัวแปรการบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การทดสอบสมมุติฐาน การสรุปผลเป็นองค์ความรู้
    9. สิ่งที่จะวัด : ความสามารถในการจัดภาพและออกแบบสีน้ำได้เหมาะสม
    10. แนวการวัด : ให้ผู้เรียนวาดภาพ กำหนดสถานการณ์จริง หรือจินตนาการ ใช้สีน้ำให้คะแนนตามหลักการจัดภาพและการใช้สีน้ำที่ดี
    11. สิ่งที่จะวัด : ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่
แนวการวัด : สังเกตและบันทึกพฤติกรรมความรับผิดชอบในแต่ละสัปดาห์ เช่น การเข้าเรียนตามเวลาสม่ำเสมอ การส่งแบบฝึกหัดครบถ้วนตามกำหนด ปฏิบัติงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย จัดเวลาทำกิจกรรมของตนและควบคุมตนเองได้ครบถ้วน ฯลฯ
ข้อควรคำนึง
    1. การออกแบบการวัดและประเมินตามสภาพจริง ควรแปลความหมายของจุดประสงค์  การเรียนรู้ที่ต้องการจะวัดว่า “การเรียนมีคุณสมบัติตามจุดประสงค์นี้ครบถ้วนจริง เขาควรมีพฤติกรรมการแสดงออกอย่างไรที่ต่างจากพฤติกรรมของผู้ขาดคุณสมบัติตามจุดประสงค์นี้”
    2. การแปลจุดประสงค์การเรียนรู้ออกเป็นภาระงานที่ผู้เรียนจะต้องบปฏิบัติในกิจกรรม  การเรียนการสอนแต่ละคาบ จะช่วยลดภาระการสร้างแบบวัดแบบประเมินของผู้สอนลงได้ เพราะผู้สอนเพียงแต่จัดระบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียน ตรวจสอบผลงานการฝึกปฏิบัติบันทึกลงระบบระเบียนก็จะช่วยการวัดการประเมินได้
    3. การใช้วิธีกำหนดผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก ให้หมุนเวียนกันทำหน้าที่ประสานงานกลุ่ม  ผสมผสานกับการกำหนดเกณฑ์การวัดการประเมินในแต่ละชิ้นงาน หรือภาระงานให้ชัดเจน  ผู้สอนจะสามารถให้มีการวัดและการประเมินกันเองในกลุ่มได้ โดยผู้สอนทำหน้าที่ติดตามประเมินการประเมินของผู้เรียนเป็นครั้งคราวจะช่วยทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น             ที่มาของข้อมูล : ดร.สงบ  ลักษณะ
      รวบรวม จัดเตรียมข้อมูล  พัฒนา และนำเสนอ : น.ส.นิภา  แย้มวจี (21 ธ.ค. 2544)
      หน่วยงาน :   กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ ศูนย์สารสนเทศ สป. ศธ.

1 ความคิดเห็น:

  1. mystery movie (Sega Genesis) - YouTube
    video games as if they had any in-game characters. Mystery movie (Sega Genesis) youtube mp3 Video game as if they had any in-game characters.

    ตอบลบ